วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week : 1 Chapter 1 Introduction

A simple illustration of a half-duplex walkie ...Image via Wikipedia

Telecommunications หมายถึง เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ ข้อมูลที่ส่งอาจเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพ ฯ โดยเฉพาะเมื่อสามารถส่งเข้าไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ และเมื่อได้ผลแล้ว คอมพิวเตอร์ก็สามารถแสดงผลโดยส่งผลออกไปในที่ไกล ๆ ได้ เช่นเดียวกัน
การสื่อสารบรอดแบนด์ หรือการสื่อสารแบบแถบความถี่กว้าง เป็นคำที่ใช้ทั้งในระบบสื่อสารโทรคมนาคม และระบบสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียกกลุ่มของเทคโนโลยี ที่ใช้แถบความถี่กว้าง และเป็นการมาบรรจบกันของ Telecommunications กับ Data Communications
ชนิดของเครือข่าย
1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก โดยส่วนใหญ่ ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน
2.Backbone Networks ระบบโครงข่ายหลัก
3.Metropolitan Area Network (MAN) คือ เครือข่ายข้อมูล ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN โดยการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละเครือข่ายนั้นอาจมีความเร็วไม่สูงมาก
4. Wide Area Networks (WAN) คือ เครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เข้าด้วยกัน โดยจะที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่าแบบ MAN
ทิศทางการส่งข้อมูล (Direction of data sending)
ถ้าข้อมูลต้องการไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex transmission)
ถ้าข้อมูลต้องการไปทั้งสองทิศทาง
- Terminal-to-Host Processing แอพพลิเคชั่นและฐานข้อมูลจะเก็บไว้ที่โฮสต์คอมพิวเตอร์ (host computer) ผู้ใช้จะใช้งานโดยผ่านเครื่องดัมบ์เทอร์มินัล (dumb terminal) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แต่ไม่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยตนเอง
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-duplex transmission)
- Host to Host มีหน้าที่ในการจัดการ Process ที่เกิดจากชั้น Process Layer ในชั้นนี้จะ
สร้าง Connection ขึ้นระหว่างชั้น Process Layer และ Host to Host Layer โดย
ผ่าน Port หรือ Socket
- การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission)
Network Topology คือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้
แบบการจัดลำดับชั้น (Hierarchical topology)
1.แบบตาข่าย (Mesh topology)
ไม่มีรูปแบบตายตัว เครื่อง 1 เครื่องต่อเข้ากับทุกอุปกรณ์ มีการต่อแบบ Point-to-point โดยแต่ละอุปกรณ์สาามารถ link ได้ทุกอุปกรณ
2.แบบดาว (Star Network)
-จะมีอุปกรณ์ที่เป็นจุดศูนย์กลางข้อมูลและทำการกระจายข้อมูลเรียกว่า "hub"
3. แบบบัส (Bus Network)
แต่ละ node จะเชื่อมเข้ากับ Blackbone ซึ่งจะมีจุดปลายทั้งสองปิด(Terminate) ทำหน้าที่เหมือนก็อกน้ำ
4. แบบวงแหวน (Ring Network)
อุปกรณ์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อแบบ point-to-point สัญญาณจะวิ่งไปตามสายใน ทิศทางเดียวกัน

protocol คือข้อตกลงในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่ง protocol เองมีหลาย ประเภทแล้วแต่ มาตรฐาน หรือ การเชื่อมต่อที่ใช้

Internetwork
- หมายถึงการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การวางระบบ
- การเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเช่น Routers และ Gateways เป็นตัวเชื่อมต่อ Routers เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง Gateways เป็นอุปกรณ์หรือตัว Computer 1 ตัวทำหน้าที่รับส่งข้อมูลเข้าออก
- มี Algo ที่หาเส้นทางที่ดีที่สุดให้เราส่งสัญญาณออกไป

เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้

Intranet อินทราเน็ตหรือระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นระบบที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงกันอย่างมากคู่กับอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่างๆ ได้มีการนำอินทราเน็ตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับอินทราเน็ตเป็นระบบที่ผู้ค้าต่างๆ มุ่งเข้ามาสู่กันมากที่สุด โดยสามารถให้นิยามของอินทราเน็ตได้คือ
ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร

Reblog this post [with Zemanta]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น