วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

Week 11 : Chapter 6 Network and Transport Layers

Middleware
Middleware คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้แอพพลิเคชันต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างของ Middleware เช่น ODBC drivers รวมถึง Microsoft .NET Framework เวอร์ชันต่างๆ โดย Middelware ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ควรทำการอัพเดทเป็นประจำ

Network Layer
Virtual Circuit (VC) คือ การเชื่อมต่อเสมือน (Logical Connection)
ระหว่าง สองสถานีใดๆ ในเครือข่ายสวิตซ์ สถานีจะสื่อสารกันโดยการส่งผ่านเซลลข้อมูล โดยผ่านวงจรเสมือนนี้ ส่วนเส้นทางเสมือน (Virtual Path) เป็นการจัดวงจรเสมือนให้เป็นกลุ่ม

ATM(Asynchronous Transfer Mode)
เป็น มาตรฐานรูปแบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความ เร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก ๆ ข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็ก ๆ เรียกว่า เซลล์ (Cell) ซึ่งมีขนาด 53 byte

Network Layer Function
- หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการเชื่อมต่อ
- หาที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องที่จะสื่อสารในลำดับถัดไป
# Addressing
- ในแต่ละ layer จะมีรูปแบบ address ของตนเอง
- Application แสดงที่อยู่ในรูป url
- Network Layer แสดงในรูป IP โดยได้รับจากอุปกรณ์ หรือโปรแกรม
- Datalink Layer แสดงในรูป MAC ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
# Assigning Addresses
- Internet Addresses จะได้รับเป็นชุด
- Subnets ที่เหมือนกันจะอยู่ในวงแลนเดียวกัน เช่น 128.192.55.20 , 128.192.55.21
- Subnet Mask คือเลขหลักในการระบุว่า subnet จะกว้างแค่ไหน เช่น 255.255.255.0 แสดงว่า subnet คือ 3 ชุดแรก
- Dynamic Addressing คือการแจกเลข IP โดยอัตโนมัติ ผ่านอุปกรณ์หรือ software เช่น DHCP
# Address Resolution
- DNS จะทำหน้าที่เก็บว่า Address ใน Application Layer ตรงกับ IP ใด
- ทันทีที่ข้อมูลมาถึงยัง Gateway ที่อยู่ subnet เดียวกับเป้าหมาย TCP/IP Software จะทำหน้าที่ประกาศ IP ที่ต้องการจะสื่อสารด้วย และให้เป้าหมายที่มี IP ดังกล่าว ระบุ MAC Address ตนเองออกมา

Protocol
- Protocol หลักๆ คือ TCP/IP TCP อยู่ใน Transport Layer IP อยู่ในNetwork Layer
- TCP จะประกอบด้วย source port, destintion port,sequence number เป็นส่วนสำคัญ รวม header ขนาด 192 bit
- IPv4 มีขนาด 192 bit
- IPv6 มีขนาด 320 bit

Interner Address หรือ IP address ปัจจุบันมีขนาด 32
บิตในการกำหนดค่าอุปกรณืต่างๆส่วนการเขียนทำได้ 2 แบบ คือเขียนในแบบ เลขฐาน2 และ เลขฐาน10
ในการเขียนในแบบฐาน2 การเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด
โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต(1ไบต์) โดยทั่วไป
คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐาน10 จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐาน10 จำนวน 4 ชุด
ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่าย Internet
โดย IP address มีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับและผู้ส่งคือใคร
IPv4 Address เป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255

IPv4 Address แบ่งออกเป็น 5 Class ได้แก่ Class A,B,C,D,E
Class A,B,C จะประกอบขึ้นจาก NetId และ HostId ซึ่งแต่ละClass จะมีขาดของNetId และ HostId แตกต่างกันไป แต่ Class D,E จะไม่มีการแบ่ง NetId และ HostId
Class D จะใช้สำหรับ Multicast เป็นการส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับเป็นกลุ่ม สามารถกำนหดให้Hostและผู้รับมีแอดเดรสแบบ Multicast Address ได้แต่ไม่สามารถกำหนด Host ของผู้ส่งได้
Class A จะใช้ 1 Byte กำหนดค่า NetId และ 3 Byte กำหนดค่า HostId
Class B จะใช้ 2 Byte กำหนดค่า NetId และ 2 Byte กำหนดค่า HostId
Class C จะใช้ 3 Byte กำหนดค่า NetId และ 1 Byte กำหนดค่า HostId
เราสามารถทราบได้ว่าแอดเดรสนี้อยู่ในคลาสไหน โดยดูจาก Byte แรกของแอดเดสClass นั้น
Byte ของแต่ละClassมีดังนี้
Class A มีค่าระหว่าง 0-127 รูปแบบจะเป็น 0.0.0.0 ถึง 127.0.0.0
Class B มีค่าระหว่าง 128-191 รูปแบบจะเป็น 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255
Class C มีค่าระหว่าง 192-223 รูปแบบจะเป็น 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255
Class D มีค่าระหว่าง 224-239 รูปแบบจะเป็น 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน Multicast
Class E มีค่าระหว่าง 240-255 รูปแบบจะเป็น 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 ยังไม่มีการใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น